ดวงจันทร์ (Moon)
เป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลก จัดเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่ลำดับที่ 5 ในระบบสุริยะ มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วัน[nb 1] เมื่อเปรียบเทียบการแปรคาบโคจรตามมาตรภูมิศาสตร์ระหว่างโลก-ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นเฟสของดวงจันทร์
เทพกรีก
อาร์ทิมิส (Artemis)
เป็นหนึ่งในพระเจ้ากรีกโบราณที่มีการบูชากว้างขวางที่สุด ภาคโรมัน คือ ไดแอนานักวิชาการเชื่อว่าทั้งพระนาม รวมทั้งองค์เทพเจ้าเอง เดิมมีมาแต่ก่อนสมัยกรีกชาวอาร์คาเดียเชื่อว่าพระนางทรงเป็นพระธิดาของดิมีเทอร์
ในเทพปกรณัมกรีกสมัยคลาสสิก มักอธิบายว่าอาร์ทิมิสทรงเป็นพระธิดาของซูสและลีโต และทรงเป็นพี่สาวฝาแฝดของอะพอลโล พระองค์เป็นพระเจ้าแห่งการล่า สัตว์ป่า ป่าเถื่อน (wilderness) การคลอด พรหมจรรย์และผู้พิทักษ์หญิงสาว ผู้นำพามาซึ่งและผู้บรรเทาโรคในหญิง มักพรรณนาพระนางเป็นพรานหญิงถือธนูและลูกศรกวางและต้นไซปรัสเป็นสัตว์และพืชศักดิ์สิทธิ์ของพระนาง
เทพญี่ปุ่น
ซึคิโยมิ (Tsukiyomi)
เทพแห่งพระจันทร์ตามความเชื่อของคนญี่ปุ่น เป็นเทพที่เกิดจากการล้างมลทินของเทพอิซานางิ มีศักดิ์เป็นน้องสาวของเทพีอามาเทราสึและพี่ชายของเทพซูซาโนะโอะ
เทพจีน
ฉางเอ๋อ (Cháng'é)
เป็นเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ตามความเชื่อปรัมปราของจีน โดยที่นางประทับเฉพาะแต่บนดวงจันทร์เท่านั้นฉางเอ๋อ เป็นคนรักของโฮวอี้ ซึ่งเป็นนักยิงธนูแห่งสวรรค์ ในยุคพระเจ้าเหยา ดวงอาทิตย์พร้อมกันส่องแสงอย่างสนุกสนานพร้อมกันถึง 10 ดวง ยังความเดือดร้อนแก่ผู้คนบนโลกมนุษย์อย่างมาก เง็กเซียนฮ่องเต้จึง มีบัญชาให้โฮวอี้ไปจัดการ ด้วยความคะนองโฮวอี้จึงใช้ธนูยิงดวงอาทิตย์ตกลงไปถึง 9 ดวงด้วยกัน เป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ จึงมีบัญชาให้เนรเทศโฮวอี้และฉางเอ๋อลงไปอยู่บนโลกมนุษย์ เฉกเช่นมนุษย์ธรรมดาทั่วไป ทั้งคู่จึงตกลงกันที่จะไปใช้ชีวิตอยู่บนโลกเช่นมนุษย์ธรรมดาทั่วไป
เทพอียิปต์
Thoth
(โธธ) เป็นเทพแห่งความรอบรู้และเวทมนตร์ของอียิปต์โบราณ บ้างก็ว่าเป็นเทพแห่งดวงจันทร์ด้วย ธอธได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งนักปราชญ์ นามเดิมคือ “ดเจฮูติ” (Djehuty) หรือ “เซฮูติ” สัญลักษณ์ของธอธเป็นนักกระสาปากยาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น